ช้างแกะสลักบ้านจ๊างนักอ.สันกำแพง
วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
คณะผู้จัดทำ
- นาย กัณณ์พนต์ หอยแก้ว รหัสนักศึกษา 55122727
- นาย ชัยสิริ ไตรแก้ว รหัสนักศึกษา 55122729
- นาย ธีรศักดิ์ จอมหล้า รหัสนักศึกษา 55122731
- นาย พงศกร สุทธิดุก รหัสนักศึกษา 55122733
- นาย วิสิทธ์ คำหล้า รหัสนักศึกษา 55122741
มหาลัยราชภัฎเชียงใหม
ผู้ให้ความรู้และสถานที่
ขอขอบคุณ อาจารย์เพชร วิริยะ หรือ สล่าเพชร
เป็นช่างแกะสลักช้างที่มีชื่อเสียงได้รับการยกย่องในฝีมือเป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดเชียงใหม่ปี 2543 สาขาทัศนศิลป์ด้านประติมากรรม เกิดที่บ้านบวกค้าง สันกำแพง จ.เชียงใหม่เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2498 มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน เป็นบุตรของ นายสิงห์-นางบัวจีน วิริยะ มีภรรยาชื่อ นงเยาว์ วิริยะ มีบุตรด้วยกัน 2 คน
สถานที่
พิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก
56/1 หมู่ 2 ต. บวกค้าง
อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ 50130
โทรศัพท์ / โทรสาร : 053-446-891, 083-203-9991
56/1 หมู่ 2 ต. บวกค้าง
อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ 50130
โทรศัพท์ / โทรสาร : 053-446-891, 083-203-9991
ขั้นตอนการแกะสลักช้าง
การแกะสลักช้างที่บ้านจ๊างนักมี 2 แบบได้แก่
1.การแกะสลักช้างรูปนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้นูนสูงขึ้นมาเกือบเต็มตัวมีความละเอียดของรูป มากกว่าแบบนูนต่ำ ใช้แกะลวดลายประกอบงานทั่วไป
มีวิธีการแกะสลักดังนี้
1.1 ใช้เลื่อยไฟฟ้าในการตัดไม้ที่จะนำมาแกะสลักให้เป็นแท่งสี่เหลื่อมตามขนาดที่ต้องการ
การเตรียมไม้ |
รายแบบที่จะแกะ |
1.3 ใช้สิ่วแกะตัวลายตามลายที่ร่างไว้บนแท่งไม้ โดยให้ตั้งฉากด้านหนึ่ง เอียงด้านหนึ่งการแกะตัวลายแต่ละด้านนั้นใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์(ขึ้นอยู่กับลายที่แกะถ้าลายละเอียดมากๆก็ใช้เวลานาน)
การแกะสลัก |
1.4 หลังจากแกะลายหมดแล้วก็จะเก็บรายละเอียดและลงสีเป็นขั้นตอนต่อไประยะเวลาการแกะและเก็บลายละเอียดประมาณ 1-2 เดือน
ตัวอย่างด้านที่แกะเสร็จ |
2.การแกะสลักช้างรูปลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ที่มองเห็นได้รอบด้าน
มีวิธีการแกะสลักดังนี้
2.1 ออกแบบวาดโดยวาดคร่าวๆ บนกระดาษ กำหนดขนาด และสัดส่วนของชิ้นงานตามต้องการลงบนกระดาษแข็งเพื่อจะเอาทาบแบบลงบนไม้และบางครั้งก็วาดลงบนชิ้นงานเลยขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่างแกะ
มีวิธีการแกะสลักดังนี้
2.1 ออกแบบวาดโดยวาดคร่าวๆ บนกระดาษ กำหนดขนาด และสัดส่วนของชิ้นงานตามต้องการลงบนกระดาษแข็งเพื่อจะเอาทาบแบบลงบนไม้และบางครั้งก็วาดลงบนชิ้นงานเลยขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่างแกะ
แบบร่าง |
2.2 การเตรียมไม้ต้องตัดไม้ตามขนาดของแบบร่างที่กำหนด
ตัวอย่างการเตรียมไม้ |
2.3 เริ่มแกะตามรายละเอียดที่ได้ร่างไว้โดยใช้สิ่วค่อยๆแกะสลักไปเรื่อยระยะการแกะนั้นประมาณ 2-3 เดือนขึ้นอยู่กับขนาดของช้าง
ตัวอย่างการแกะตามแบบร่าง |
2.4 หลังจากแกะไปเรื่อยๆแล้วจนได้รูปก็ทำการเก็บลายละเอียดและลวดลายบนช้าง
ตัวอย่างการเก็บรายละเอียด |
2.5 ขั้นตอนสุดท้ายเก็บลายละเอียดทุกอย่างเสร็จแล้วก็ทำการลงสีโดยสีที่ใช้นั้นเป็นการหมักด้วยผลของต้นมะเก๋อหรือเรียกว่าต้นมะเกลือแทนการใช้สีเคมีลักษณะของผลมะเกลือนั้นเป็นผลกลมผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ
วิธีการหมักสีทาตัวช้าง
-นำผลมะเกลือมาตำให้ละเอียดแล้วนำไปหมักกับน้ำปูนใสประมาณ 1-3วันก็จะได้น้ำเป็นสีดำ
-นำผลมะเกลือมาตำให้ละเอียดแล้วนำไปหมักกับน้ำปูนใสประมาณ 1-3วันก็จะได้น้ำเป็นสีดำ
น้ำมะเกลือหมัก |
2.6 จากนั้นก็ทาลงช้างแกะสลักโดยทาซ้ำกันหลายๆรอบจนชิ้นงานดำตามที่ต้องการแล้วก็นำไปผิ่งแดดต่อจนแห้งสนิทแล้วใช้แปรงตองเหลืองขัดกากของผลมะเกลือออกจากชิ้นงานก็จะได้ชิ้นงานสีดำเทาดูเป็นธรรมชาติ
ตัวอย่างช้างที่เสร็จสมบูรณ์ |
วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก
วัสดุที่ใช้แกะสลักได้
1.ไม้เนื้อแข็ง
1.1 ไม้ขี้เหล็ก ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแก่
1.2 ไม้ขนุน ลักษณะเนื้อไม้จะออกส้มๆอมเหลือง
1.3 ไม้สัก ลัษณะเนื้อไม้สวยงาม แข็งแรง ทนทาน
ลักษณะของไม้ขี้เหล็ก |
1.สิ่วที่ใช้มี
1.1 สิ่วเล็บมือ ใช้สำหรับเฉือน เจาะ แซะให้ไม้เป็นร่องโค้งมนและกลม
1.2 สิ่วตัววี ใช้สำหรับเซาะร่องให้ลึกและใช้ทำรายละเอียด
1.3 สิ่วตัวแบน ใช้สำหรับเดินเส้นหรือตัดเส้น
2.ค้อนที่ใช้มี
2.1 ค้อนไม้ ทำมาจากไม้
2.2 ค้อนเหล็ก ใช้สำหรับชิ้นงานที่ใหญ่ที่ต้องใช้แรงเยอะ
3.บุ้งหรือตะไป ใช้ในการขัดตกแต่งหรือปาดชิ้นงาน
4.แปรงตองเหลือง ใช้ในการขัดถูชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดสูง
5.เลื่อยไฟฟ้า ใช้ในการเลื่อยไม้ที่ไม้ต้องการออกไป
อุปกรณ์ในการแกะสลัก |
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง
- เพื่อสร้างงานอาชีพให้แก่คนในชุมชนมีรายได้จากการแกะสลัก
- นำทรัพยากรและวัตถุดิบภายในหมู่บ้านและท้องถิ่นที่ไร้ค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- อนุรักษ์สืบต่อวิชาการแกะสลักช้างให้ยืนยาวสืบต่อกันไปอีกนาน
- สร้างแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน
- เพื่อเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมการแกะสลักดินแดนล้านนา
- ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ประวัติความเป็นมา
บ้านจ๊างนัก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2528 โดยสล่าเพรช วิริยะหลังจากที่ติดตามเรียนรู้วิชาการแกะสลักไม้จากครูอ้าย เดชดวงตา เมื่อปี พ.ศ.2515-2519 และผ่านงานตามสถานที่ต่างๆมาหลายที่เมื่อตัดสินใจกลับมาอยู่บ้านโดยได้รวบรวมเพื่อนสล่าและลูกศิษย์จำนวน 5-6 คนรวมตัวกันเป็นทีมงานแกะสลักช้างไม้แบบเหมือนจริงจนมีผลงานออกมาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้นเมื่อ พ.ศ.2531ศาสตราจารย์อรุณ ชัยเสรีวิศวกรชื่อดังของเมืองไทยได้นำพาคุณประยูร จรรยาวงษ์ ราชาการ์ตูนและคอลัมน์นิสต์ชื่อดังของเมืองไทยมาเยี่ยมชมผลงานที่บ้านและคุณประยูร จรรยาวงษ์ได้กรุณาตั้งชื่อบ้านให้ว่าบ้านจ๊างนักอันหมายถึงบ้านที่มีช้างมากมายตั้งแตวันนั้นจึงเกิดมีชื่อ บ้านจ๊างนักจนถึงปัจจุบันนี้ทางกลุ่มบ้านจ๊างนักมีสมาชิกสล่า50 คนเป็นทั้งเพื่อนและลูกศิษย์และเป็นคนหนุ่มในหมู่บ้านละแวกเดียวกันที่มาร่วมกันฝึกฝนจนกลายเป็นช่างฝีมือดีไปแล้วหลายคน
ปัจจุบันบ้านจ๊างนักกลายเป็นแหล่งศึกษา และท่องเที่ยวทางด้านงานศิลปะและหัตถกรรมของท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ไปแล้วปีหนึ่งๆมีนักท่องเที่ยวและผู้สนใจในงานศิลปหัตถกรรมมาเยี่ยมชมตลอดปีและถือเป็นภูมิปัญญาสล่าช่างแกะสลักแห่งท้องถิ่นที่สอนสืบต่อกันมาอย่างยาวนานและเป็นการพัฒนาฝีมือแนวคิดของสล่าช่างแกะสลักแต่ละรุ่นต่อไปตามกาลเวลา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)