วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วีดีโอการแกะสลักช้างที่บ้านจ๊างนัก




คณะผู้จัดทำ



  1. นาย  กัณณ์พนต์ หอยแก้ว           รหัสนักศึกษา  55122727

  2. นาย ชัยสิริ ไตรแก้ว                     รหัสนักศึกษา  55122729

  3. นาย ธีรศักดิ์ จอมหล้า                  รหัสนักศึกษา  55122731

  4. นาย พงศกร สุทธิดุก                    รหัสนักศึกษา 55122733

  5. นาย วิสิทธ์ คำหล้า                       รหัสนักศึกษา 55122741
     สาขาวิชา สารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
                                มหาลัยราชภัฎเชียงใหม

ผู้ให้ความรู้และสถานที่


ขอขอบคุณ อาจารย์เพชร วิริยะ หรือ สล่าเพชร
เป็นช่างแกะสลักช้างที่มีชื่อเสียงได้รับการยกย่องในฝีมือเป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดเชียงใหม่ปี 2543 สาขาทัศนศิลป์ด้านประติมากรรม เกิดที่บ้านบวกค้าง สันกำแพง จ.เชียงใหม่เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2498 มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน เป็นบุตรของ นายสิงห์-นางบัวจีน วิริยะ  มีภรรยาชื่อ นงเยาว์ วิริยะ มีบุตรด้วยกัน 2 คน
 
สถานที่
พิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก
56/1 หมู่ 2  ต. บวกค้าง
อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ 50130
โทรศัพท์ / โทรสาร : 053-446-891, 083-203-9991
  

ขั้นตอนการแกะสลักช้าง


การแกะสลักช้างที่บ้านจ๊างนักมี 2 แบบได้แก่
   1.การแกะสลักช้างรูปนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้นูนสูงขึ้นมาเกือบเต็มตัวมีความละเอียดของรูป มากกว่าแบบนูนต่ำ ใช้แกะลวดลายประกอบงานทั่วไป
       มีวิธีการแกะสลักดังนี้
           1.1 ใช้เลื่อยไฟฟ้าในการตัดไม้ที่จะนำมาแกะสลักให้เป็นแท่งสี่เหลื่อมตามขนาดที่ต้องการ
การเตรียมไม้
 
           1.2 ร่างแบบที่จะแกะสลักลงไปบนชิ้นงานไม้ (ลวดลายที่จะแกะสลักนั้นเป็นจินตนาการของสล่าและตามที่ลูกค้าต้องการ)

รายแบบที่จะแกะ

            1.3 ใช้สิ่วแกะตัวลายตามลายที่ร่างไว้บนแท่งไม้ โดยให้ตั้งฉากด้านหนึ่ง เอียงด้านหนึ่งการแกะตัวลายแต่ละด้านนั้นใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์(ขึ้นอยู่กับลายที่แกะถ้าลายละเอียดมากๆก็ใช้เวลานาน)

การแกะสลัก
            1.4 หลังจากแกะลายหมดแล้วก็จะเก็บรายละเอียดและลงสีเป็นขั้นตอนต่อไประยะเวลาการแกะและเก็บลายละเอียดประมาณ 1-2 เดือน
 
ตัวอย่างด้านที่แกะเสร็จ
 
   2.การแกะสลักช้างรูปลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ที่มองเห็นได้รอบด้าน
      มีวิธีการแกะสลักดังนี้
           2.1 ออกแบบวาดโดยวาดคร่าวๆ บนกระดาษ กำหนดขนาด และสัดส่วนของชิ้นงานตามต้องการลงบนกระดาษแข็งเพื่อจะเอาทาบแบบลงบนไม้และบางครั้งก็วาดลงบนชิ้นงานเลยขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่างแกะ
แบบร่าง

           2.2 การเตรียมไม้ต้องตัดไม้ตามขนาดของแบบร่างที่กำหนด
ตัวอย่างการเตรียมไม้

           2.3 เริ่มแกะตามรายละเอียดที่ได้ร่างไว้โดยใช้สิ่วค่อยๆแกะสลักไปเรื่อยระยะการแกะนั้นประมาณ 2-3 เดือนขึ้นอยู่กับขนาดของช้าง
ตัวอย่างการแกะตามแบบร่าง

           2.4 หลังจากแกะไปเรื่อยๆแล้วจนได้รูปก็ทำการเก็บลายละเอียดและลวดลายบนช้าง
ตัวอย่างการเก็บรายละเอียด

           2.5 ขั้นตอนสุดท้ายเก็บลายละเอียดทุกอย่างเสร็จแล้วก็ทำการลงสีโดยสีที่ใช้นั้นเป็นการหมักด้วยผลของต้นมะเก๋อหรือเรียกว่าต้นมะเกลือแทนการใช้สีเคมีลักษณะของผลมะเกลือนั้นเป็นผลกลมผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ
             วิธีการหมักสีทาตัวช้าง
              -นำผลมะเกลือมาตำให้ละเอียดแล้วนำไปหมักกับน้ำปูนใสประมาณ 1-3วันก็จะได้น้ำเป็นสีดำ   
น้ำมะเกลือหมัก
 

 2.6 จากนั้นก็ทาลงช้างแกะสลักโดยทาซ้ำกันหลายๆรอบจนชิ้นงานดำตามที่ต้องการแล้วก็นำไปผิ่งแดดต่อจนแห้งสนิทแล้วใช้แปรงตองเหลืองขัดกากของผลมะเกลือออกจากชิ้นงานก็จะได้ชิ้นงานสีดำเทาดูเป็นธรรมชาติ
ตัวอย่างช้างที่เสร็จสมบูรณ์

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก


วัสดุที่ใช้แกะสลักได้
1.ไม้เนื้อแข็ง
       1.1 ไม้ขี้เหล็ก  ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแก่
       1.2 ไม้ขนุน  ลักษณะเนื้อไม้จะออกส้มๆอมเหลือง
       1.3 ไม้สัก  ลัษณะเนื้อไม้สวยงาม แข็งแรง ทนทาน

ลักษณะของไม้ขี้เหล็ก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก
1.สิ่วที่ใช้มี
       1.1 สิ่วเล็บมือ ใช้สำหรับเฉือน เจาะ แซะให้ไม้เป็นร่องโค้งมนและกลม
       1.2 สิ่วตัววี  ใช้สำหรับเซาะร่องให้ลึกและใช้ทำรายละเอียด
       1.3 สิ่วตัวแบน ใช้สำหรับเดินเส้นหรือตัดเส้น
2.ค้อนที่ใช้มี
       2.1 ค้อนไม้ ทำมาจากไม้
       2.2 ค้อนเหล็ก ใช้สำหรับชิ้นงานที่ใหญ่ที่ต้องใช้แรงเยอะ
3.บุ้งหรือตะไป ใช้ในการขัดตกแต่งหรือปาดชิ้นงาน
4.แปรงตองเหลือง ใช้ในการขัดถูชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดสูง
5.เลื่อยไฟฟ้า ใช้ในการเลื่อยไม้ที่ไม้ต้องการออกไป

อุปกรณ์ในการแกะสลัก
 


 

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง


  1. เพื่อสร้างงานอาชีพให้แก่คนในชุมชนมีรายได้จากการแกะสลัก
  2. นำทรัพยากรและวัตถุดิบภายในหมู่บ้านและท้องถิ่นที่ไร้ค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  3. อนุรักษ์สืบต่อวิชาการแกะสลักช้างให้ยืนยาวสืบต่อกันไปอีกนาน
  4. สร้างแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน
  5. เพื่อเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมการแกะสลักดินแดนล้านนา
  6. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ประวัติความเป็นมา


   บ้านจ๊างนัก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2528 โดยสล่าเพรช วิริยะหลังจากที่ติดตามเรียนรู้วิชาการแกะสลักไม้จากครูอ้าย เดชดวงตา เมื่อปี พ.ศ.2515-2519 และผ่านงานตามสถานที่ต่างๆมาหลายที่เมื่อตัดสินใจกลับมาอยู่บ้านโดยได้รวบรวมเพื่อนสล่าและลูกศิษย์จำนวน 5-6 คนรวมตัวกันเป็นทีมงานแกะสลักช้างไม้แบบเหมือนจริงจนมีผลงานออกมาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้นเมื่อ พ.ศ.2531ศาสตราจารย์อรุณ ชัยเสรีวิศวกรชื่อดังของเมืองไทยได้นำพาคุณประยูร จรรยาวงษ์ ราชาการ์ตูนและคอลัมน์นิสต์ชื่อดังของเมืองไทยมาเยี่ยมชมผลงานที่บ้านและคุณประยูร จรรยาวงษ์ได้กรุณาตั้งชื่อบ้านให้ว่าบ้านจ๊างนักอันหมายถึงบ้านที่มีช้างมากมายตั้งแตวันนั้นจึงเกิดมีชื่อ บ้านจ๊างนักจนถึงปัจจุบันนี้ทางกลุ่มบ้านจ๊างนักมีสมาชิกสล่า50 คนเป็นทั้งเพื่อนและลูกศิษย์และเป็นคนหนุ่มในหมู่บ้านละแวกเดียวกันที่มาร่วมกันฝึกฝนจนกลายเป็นช่างฝีมือดีไปแล้วหลายคน
        ปัจจุบันบ้านจ๊างนักกลายเป็นแหล่งศึกษา และท่องเที่ยวทางด้านงานศิลปะและหัตถกรรมของท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ไปแล้วปีหนึ่งๆมีนักท่องเที่ยวและผู้สนใจในงานศิลปหัตถกรรมมาเยี่ยมชมตลอดปีและถือเป็นภูมิปัญญาสล่าช่างแกะสลักแห่งท้องถิ่นที่สอนสืบต่อกันมาอย่างยาวนานและเป็นการพัฒนาฝีมือแนวคิดของสล่าช่างแกะสลักแต่ละรุ่นต่อไปตามกาลเวลา